ANTIG 109
หน้าร้าน ©ANTIG 109 : พระดี มีอนาคต




ชื่อ : 073 เหรียญที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ นายสนิท เทวินทรภักดี
ประเภท : เปิดให้บูชา
: รายละเอียด :

เหรียญที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ นายสนิท เทวินทรภักดี

ประวัติท่านเท่าที่ค้นข้อมูล พบว่าเกี่ยวข้องกับ หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตร วิทยาราม ความตอนหนึ่ง จาก

ประวัติพระพุทธรูป พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร

วัดไตรมิตรวิทยาราม ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐาน
"พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร" หรือ "หลวงพ่อทองคำ" อยู่ที่ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย คืออยู่ในพระอิริยาบถนั่งสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางเหนือพระชานุ ปลายพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี หน้าตักกว้าง 6 ศอก 5 นิ้ว สูงจากฐานถึงพระเกตุเมาฬี 7 ศอก 1 คืบ 9 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 5 ตัน แต่เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ถูกพอกปิดด้วยปูนทั่วทั้งองค์ พุทธลักษณะภายนอกำไม่งดงามหรือโดดเด่น จากหลักฐานที่ปรากฏพบว่า เคยประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดโชตินาราม หรือวัดพระยาไกรมาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว






ต่อมาวัดพระยาไกรขาดคนบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงตกอยู่ในสภาพรกร้างราว พ.ศ. 2474 บริษัทอีสต์เอเชียติก จำกัด ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานป่าไม้ ได้ขอเช่าที่จากรัฐบาล เข้าจัดสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมของวัดบริเวณวัดร้างแห่งนี้ มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมของวัดพระยาไกรจนเหลือแต่พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ในขณะนั้น "วัดสามจีน" ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดไตรมิตรวิทยาราม กำลังอยู่ในระหว่างการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ทั่วทั้งพระอารามโดยสร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปเพิ่มเติม สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เจ้าคณะแขวงล่าง เห็นว่าจะปล่อยองค์พระพุทธรูปปูนปั้นให้อยู่ที่เดิมต่อไปจะเป็นการไม่สมควร ประกอบกับวัดสามจีนมีสถานที่กว้างขวาง เหมาะสมกับการประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ จึงมอบให้คณะฐิตวีโร (พระวิสุทธาธิบดี) น.อ.หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) ร.น.หลวงบริบาลเวชกิจ (ยู้ ลวางกุล) นายสนิท เทวินทรภักดี ร่วมกันอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้จากวัดพระยาไกรมาประดิษฐานยังวัดสามจีน

พระพุทธรูปปูนปั้นจึงถูกอัญเชิญมาตั้งแต่นั้น โดยในขณะที่ยังบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามไม่แล้วเสร็จ คณะกรรมการวัดไปประดิษฐานองค์พระพุทธรูปไว้ข้างเจดีย์เป็นการชั่วคราว ในระหว่างนี้มีผู้มาขออัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดต่าง ๆ มากมาย แต่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ การก่อสร้างพระอาราม พระวิหารต่าง ๆ ในวัดสามจีนใช้เวลาเนิ่นนาน จนล่วงเลยไปถึง 20 ปี ใน พ.ศ. 2498 การบูรณะจึงเสร็จสิ้นเรียบร้อย เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์พร้อม ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธาธิบดี เจ้าอาวาสซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระวีรธรรมมุนี ผู้ดำเนินการสร้างวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นจนแล้วเสร็จ ได้เป็นแม่กองเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปองค์นี้เพื่อนำขึ้นประดิษฐานยังพระวิหารซึ่งตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 การเคลื่อนย้ายเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากองค์พระมีขนาดใหญ่และหนัก ต้องใช้ปั้นจั่นยกองค์พระพุทธรูปขณะที่ทำการยกนั้นปรากฏว่าลวดสลิงที่ยึดองค์พระเกิดขาดเพราะทานน้ำหนักไม่ไหว องค์พระพุทธรูปกระแทกลงบนพื้นดินอย่างแรง พอดีกับเป็นเวลาใกล้ค่ำและฝนตกหนัก การอัญเชิญพระพุทธรูปในวันนั้นจึงหยุดชะงักลง





ในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ท่านเจ้าอาวาสได้มาตรวจดูองค์พระเพื่อหาทางอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ก็ได้พบเห็นรอยแตกที่พระอุระ แลเห็นรักที่ฉานผิวองค์พระด้านใน เมื่อแกะรักออกก็ได้พบเบื้องทองคำบริสุทธิ์งามจับตาอยู่ชั้นในสุด ท่านเจ้าอาวาสจึงสั่งการระดมผู้คนช่วยกันกะเทาะปูนและลอกรักออกหมดทั้งองค์ ความงดงามแห่งเนื้อทองบริสุทธิ์ขององค์พระปฏิมาจึงปรากฏให้เห็น พร้อมพุทธลักษณะที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง กลายเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สกุลช่างสุโขทัย ที่งดงามจับตาจับใจผู้พบเห็น ความยากลำบากในการเคลื่อนย้ายหมดสิ้นลงเมื่อการคุ้ยดินได้ฐานทับเกษครออก และพบกุญแจสำหรับถอดองค์พระออกเป็นส่วน ๆ ได้ 9 ส่วน เพื่อสะดวกต่อการอัญเชิญขึ้นประดิษฐานยังพระวิหาร จึงดำเนินการถอดองค์พระออกแต่เพียง 4 ส่วน คือ ส่วนพระศอ ส่วนพระหัตถ์ทั้ง 2 ข้าง และส่วนพระนาภี ทำให้สามารถอัญเชิญพระพุทธรูปทองคำขึ้นประดิษฐานยังที่จัดเตรียมไว้โดยราบรื่น
การค้นพบพระพุทธรูปทองคำปางมารวิชัยของวัดไตรมิตรวิทยารามใน ครั้งนั้น เป็นข่าวสำคัญครึกโครมไปทั่วทั้งประเทศ หนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ประโคมข่าวกันอย่างกว้างขวางท่ามกลางความปีติยินดีของพุทธศาสนิกชนทั่วหน้า มีการตรวจสอบและประเมินเนื้อทองคำ ขององค์พระพุทธรูปซึ่งเป็นทองคำบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองเนื้อเจ็ด น้ำสองขา (มาตราทองคำของไทยโบราณตั้งไว้ตั้งแต่ทองเมื้อสี่ คือทองคำหนัก 1 บาท จะมีค่า 4 บาท ทองเนื้อเจ็ด คือทองหนัก 1 บาท จะมีค่า 7 บาท ซึ่งเป็นทองคำที่มีค่าของเนื้อทองรองจากทองนพคุณหรือทองเนื้อเก้า ซึ่งทองเนื้อเก้าจะเริ่มพบที่บางตะพานในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ เรียกกันว่าทองคำบางตะพาน ส่วนคำว่าสองขา หมายถึง 2 สลึง) มีน้ำหนักกว่า 5 ตัน คิดเป็นน้ำหนักทองคำ 25,000 ปอนด์ หรือคิดเป็นมูลค่าเฉพาะเนื้อทองคำในขณะนั้น (พ.ศ.249 14 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 294,000,000 บาท อันเป็นราคาทองคำที่ถูกประเมินในครั้งแรก

เช่าบูชา : 600 บาท
ข้อมูลการติดต่อ : พันธุ์ทิพย์ วัยนิพลี
093-2480159 ang7kong@gmail.com
จำนวนผู้เปิดชม : 0972 ครั้ง
โพสเมื่อ : 2012-08-03 13:41:46
ปรับปรุงล่าสุด : 2012-08-03 13:41:46
Share ข้อมูล :
สอบถามเกี่ยวกับรายการนี้
ชื่อผู้โพส
E-mail
โทรศัพท์
ข้อความ
Code ยืนยันการโพสโค้ดยืนยันการโพส
ชื่อร้าน : ANTIG 109
โดย : พันธุ์ทิพย์ วัยนิพลี
ที่อยู่ติดต่อ : 491 หมู่ที่ 7 ต.สมอเเข อ.เมือง จ. พิษณุโลก 65000
หมายเลขโทรศัพท์ : 093-2480159
E-Mail ติดต่อ : ang7kong@gmail.com
 ธนาคารกสิกรไทย :   สาขา ถนนสายเอเซีย  
ประเภทบัญชี : ออมทรัพย์/สะสมทรัพย์
ชื่อบัญชี : นายอุดร เหลืองวิชชเจริญ  
หมายเลขบัญชี : 4032253429