ANTIG 110
หน้าร้าน ©ANTIG 110 : ราคามิตรภาพ




ชื่อ : 131 พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)
ประเภท : เปิดให้บูชา
: รายละเอียด :

พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)
ครองวัด พ.ศ. ๒๕๐๑ - ๒๕๐๔
พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) เกิดในสกุล ธรรมประทีป เป็นบุตรคนที่ ๔ ในจำนวนบุตรหญิงชาย ๗ คน ของนายห้อย นางฮวด ธรรมประทีป เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๔๓๗ ตรงกับวันศุกร์แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะเมีย เวลา ๑๕.๓๐ น. ณ ตำบลบ้านแหลมใหญ่ อำเภอบ้านปรก (ปัจจุบันเป็นอำเภอเมือง) จังหวัดสมุทรสงคราม

การศึกษาในชั้นต้น ได้ศึกษาภาษาไทยในสำนักขุนวิทยานุกูลกวี (ทองดี เครือชะเอม ป.๗ อดีตครูโรงเรียนราชกุมารราชกุมารี ในพระบรมมหาราชวัง) ณ วัดเกตุการาม สมุทรสงคราม ญาติของท่านฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา เป็นคริสตศาสนิกที่เคร่งครัด และมีญาติบางคนได้บวชเป็นบาทหลวงและนางชีในศาสนาคริสต์ด้วย สมัยเมื่อยังเยาว์ เคยไปสวดมนต์ไหว้พระในโบสถิสต์กับญาติบ้างกับผู้ปกครองบ้าง และได้เคยรับศีลล้างบาปตามประเพณีของศาสนาคริสต์ แต่ด้วยเหตุที่ศาสนาคริสต์ไม่ต้องด้วยอัธยาศัยของท่าน เพราะได้เคยได้รับความสลดใจหลายอย่างเกี่ยวกับการกระทำของพวกเด็กชาวคริสต์ที่กระทำต่อพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา เป็นต้นว่า เมื่อเห็นพระภิกษุสามเณรเดินบิณฑบาต ก็มักจะพากันกล่าววาจาหยาบคายต่าง ๆ ซึ่งท่านเองก็พลอยไปกับเขาด้วยในบางครั้ง ท่านเล่าว่า เคยฝันเห็นโบสถ์ (ในพระพุทธศาสนา) ลอยมาในอากาศบ้าง ฝันเห็นอุบาสกอุบาสิกานุ่งขาวห่มขาวนั่งสวดมนต์กันบ้าง ฝันเห็นตนเองปีนกำแพงเข้าไปในโบสถ์บ้าง ปตกิเป็นคนมีนิสัยกลัวบาปตกนรก ไม่เห็นในคำสอนของศาสนคริสต์ในข้อที่นับถือว่า ฆ่าสัตว์ไม่บาป เพราะพระเจ้าสร้างมาให้เป็นอาหารของมนุษย์ มีความเห็นว่าสอนเช่นนี้ ไม่ยุติธรรม

เมื่ออุปนิสัยน้อมเข้ามาทางพระพุทธศาสนาเช่นนี้ ครั้นอายุได้ ๑๖ ปี (พ.ศ.๒๔๕๓) จึงได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร กับพระครูธรรมธร (แก้ว พฺรหฺมสาโร) วัดพวงมาลัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วเล่าเรียนอยู่ในวัดนั้นเป็นเวลาปีเศษ ก็ลาสิกขาออกไปเรียนภาษาไทยที่วัดเกตุการามต่ออีก

ครั้นอายุได้ ๑๙ ปี (พ.ศ.๒๔๕๖) ก็ได้กลับเข้ามาบรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งหนึ่งกับพระมหาสมณวงศ์ (แท่น โสมทตฺโต) วัดเกตุการาม และอยู่มาจนอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเกตุการามนั้น โดยมีพระพุทธวิริยากร (จิตต ฉนฺโน) วัดสัตตนารถปริวัตร เจ้าคณะจังหวัดราชบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอุดมธีรคุณ (เพิ่ม อุชุโก) พระครูธรรมธรอินทร์ (ภาสกโร) วัดเกตุการาม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ อุปสมบทแล้วก็อยู่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติที่วัดเกตุการามนั้น ๔ พรรษา ในพรรษาที่ ๓ สอบได้นักธรรมชั้นตรี

พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้ย้ายเข้าอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อศึกษาเล่าเรียนต่อในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงครองวัดและอยู่ในความดูแลของพระมหานายก (มณี ลิมกุล สุดท้ายเป็นพระเทพกวี แล้วลาสึกขา) ซึ่งเป็นชาวจังหวัดเดียวกัน การขบฉันในสมัยนั้นนับว่าอัตคัด สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงต้องทรงแบ่งเครื่องเสวยประทานเป็นครั้งคราวเสมอ การศึกษาเล่าเรียนของท่านก็เจริญก้าวหน้าไปเป็นลำดับ สอบได้ชั้นและประโยคต่างๆ ดังนี้

พ.ศ. ๒๔๖๔ สอบได้นักธรรมชั้นโท และเปรียญธรรม ๓ ประโยค

พ.ศ. ๒๔๖๕ สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค

พ.ศ. ๒๔๖๖ สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค

พ.ศ. ๒๔๖๗ สอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค

พ.ศ. ๒๔๖๙ สอบได้นักธรรมชั้นเอก

พระพรหมมุนี ได้เริ่มรับภาระเกี่ยวกับการวัด มหามกุฏราชวิทยาลัยและการคณะสงฆ์ ในด้านต่าง ๆ มาตั้งแต่มีอายุพรรษาในขั้นพระผู้น้อยและก็มีภาระกิจมากขึ้นตามลำดับอายุกาล ดังนี้

พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นฐานานุกรมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ตำแหน่งพระครูสังฆบริบาล แล้วเลื่อนเป็นพระครูวินัยธรรม

พ.ศ. ๒๔๖๕ เริ่มเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจำสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร และเป็นเจ้าหน้าที่ทะเบียนสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ ๒๔๖๗ เป็นกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร และเป็นกรรมการจัดการศึกษาของสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ. ๒๔๗๑ เลื่อนเป็น พระครูธรรมธร ฐานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์

พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นกรรมการสนามหลวง ทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลีเป็นตลอดมา ในศกเดียวกันนึ้ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้ฟื้นฟูและขยายกิจการของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พระพรหมมุนี ก็เป็นท่านหนึ่งที่เป็นเจ้าหน้าที่รุ่นแรกของมหามกุฏฯ ในยุคฟื้นฟูดังกล่าวนี้ โดยได้ทำหน้าที่สำคัญ ๆ หลายอย่างคือ เป็นกรรมการออกหนังสือธรรมจักษุ ซึ่งเป็นนิยตสารทางพระพุทธศาสนารายเดือน เป็นอนุกรรมการตรวจชำระแบบเรียนทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี เป็นกรรมการบริหารมหามกุฏราชวิทยาลัยและเป็นคณะกรรมการอำนวยการ เป็นกรรมการเลือกพระสูตรลงพิมพ์ในนิตยสารธรรมจักษุ

พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสเป็นวัดบวรนิเวศวิหาร และเป็นประธานกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร และในศกเดียวกันนี้ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระสุพจนมุนี

พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระคณาจารย์เอกทางคันถธุระ ซึ่งเป็นตำแหน่งทางฝ่ายปริยัติ (เทียบฝายบริหารเท่ากับเจ้าคณะมณฑล)

พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ให้เดินทางไปตรวจการคณะสงฆ์ภาคอีสาน คือ นครราชสีมา อุบลราชธานี นครพนม หนองคาย แล้วข้ามไปเวียงจันทร์ โดยมีพระราชเวที (สมเด็จพระอริยวงศาจารย์ จวน อุฏฺฐายี) เป็นหัวหน้าคณะ พร้อมด้วยพระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ วัดมกุฏกษัตริยาราม

พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็นหัวหน้ากองบัญชาการมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นกรรมการคณะธรรมยุต มีหน้าที่ในการสอดส่องดูแลการคณะถวายความเห็นช่วยกิจการคณะแก่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต และเป็นผู้ซักซ้อมหน้าที่อุปัชฌาย์ในคณะธรรมยุต

พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นชั้นเทพที่ "พระเทพมุนี"

พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นชั้นธรรมที่ "พระธรรมปาโมกข์"

พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ "พระพรหมมุนี"

พระพรหมมุนี ได้บำเพ็ญกรณียกิจที่สำคัญ ๆ หลายประการ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นพระผู้น้อยเป็นต้นมา เช่นเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลราชบุรี ในด้านการสอบธรรมสนามหลวงมณฑลตั้งแต่ยังเป็นพระครูธรรมธร เป็นผู้ช่วยปรับปรุงกิจการของมูลนิธิมหามหากุฏราชวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้าขึ้น เป็นผู้จัดการมหามหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นบุคคลสำคัญในการจัดตั้งสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งประเทศไทย และได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นองค์แรก และดำรงตำแหน่งนี้มาจนตลอดอายุขัย ได้เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การเผยแผ่มาทุกสมัย ในยุคที่คณะสงฆ์ปกครองโดยมีคณะสังฆมนตรีบริหารองค์การต่างๆ ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัีว รัชกาลปัจจุบัน ทรงผนวชและประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ก็ได้เป็นพระอาจารย์ถวายการสอนธรรมตลอดจนถึงทรงลาผนวช ได้รจนาหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไว้มาก โดยเฉพาะเกี่ยวกับธรรมนั้น เป็นที่เชื่อถืออ้างอิงของผู้ศึกษาธรรมทั่วไป

พระพรหมมุนี ปกครองวัดบวรนิเวศวิหารอยู่ ๔ ปี มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ สิริอายุ ๖๗ ปี

เช่าบูชา : 200 บาท
ข้อมูลการติดต่อ : น.ส. พันธุ์ทิพย์ วัยนิพลี
093-2480159 ang7kong@gmail.com
จำนวนผู้เปิดชม : 1313 ครั้ง
โพสเมื่อ : 2012-08-05 10:41:16
ปรับปรุงล่าสุด : 2012-08-05 10:41:16
Share ข้อมูล :
สอบถามเกี่ยวกับรายการนี้
ชื่อผู้โพส
E-mail
โทรศัพท์
ข้อความ
Code ยืนยันการโพสโค้ดยืนยันการโพส
ชื่อร้าน : ANTIG 110
โดย : น.ส. พันธุ์ทิพย์ วัยนิพลี
ที่อยู่ติดต่อ : 491 หมู่ที่ 7 ต.สมอเเข อ.เมือง จ. พิษณุโลก 65000
หมายเลขโทรศัพท์ : 093-2480159
E-Mail ติดต่อ : ang7kong@gmail.com
 ธนาคารกสิกรไทย :   สาขา ถนนสายเอเซีย  
ประเภทบัญชี : ออมทรัพย์/สะสมทรัพย์
ชื่อบัญชี : นายอุดร เหลืองวิชชเจริญ  
หมายเลขบัญชี : 4032253429